ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยเชื่อในข่าวสาร

ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยเชื่อในข่าวสาร

ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยเชื่อในข่าวสาร ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยเชื่อในข่าวสาร

ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยเชื่อในข่าวสาร
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดจิตวิทยาทั่วไป-พัฒนาตนเอง
22 มกราคม 2565, 23:11
ยิ่งคุณรู้ข้อมูลข่าวสารมากเท่าไร ยิ่งทำให้คุณเริ่มไม่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมากขึ้น แม้ว่าคุณอาจจะเจอแรงยั่วยุทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม

นักวิจัยได้ทำการสำรวจตัวอย่างกว่า 400 ตัวอย่างผ่านออนไลน์ โดยดูว่า พวกเขารับรู้ข้อมูลข่าวสารมากน้อยแค่ไหน และทำการประเมินความรู้ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงจิตวิทยาในการรับรู้และประมวลผลที่อาจมีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีสมคบคิด

 

นักวิจัยพบว่า “คนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมักไม่ค่อยอยากรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากเท่าไรนัก” เช่นกันยังพบด้วยว่า “ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารในแต่ละประเภทนั้น พวกเขาเชื่อว่า มีการปกปิดความจริงอยู่ ไปจนถึงมีการผลิตข้อมูลข่าวสารไปตามบริบทแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแสดงความคิดเห็นของประชาชน เรื่องนี้ไม่ค่อยดูเหมือนว่า พวกเขาจะเชื่อทฤษฎีสมคบคิดแบบหัวปักหัวปำ

 

นักวิจัยเชื่อว่า ประเด็นนี้มีความเชื่อมโยงกันในช่วงแรก แต่ต่อมาได้พบสิ่งที่น่าสนใจมากขึ้นและชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีสมคบคิดมันมีความเชื่อมโยงในเรื่องของความเชื่อทางการเมืองส่วนบุคคลด้วย

 

งานวิจัยได้ทำการสอบถามผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิด 10 อย่าง โดยมีการแยกเรื่องระหว่างมุมมองเสรีนิยมกับความเป็นอนุรักษนิยม เช่นกันมีการสอบถามเกี่ยวกับอุดมการณ์ความเชื่อของผู้เข้าร่วมด้วย

 

นักวิจัยพบว่า ฝ่ายเสรีนิยมที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารมักไม่ค่อยเชื่อหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดแบบเสรีนิยม ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 มีการวางแผนล่วงหน้า การขโมยคะแนนเสียงเลือกตั้งปี 2004 ตลอดจนการเลือกตั้งอื้อฉาวที่โอไฮโอและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนวัยเด็กกับภาวะออทิสซึม

 

เช่นกันฝ่ายอนุรักษนิยมที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ค่อยเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดในแบบอนุรักษนิยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบารัค โอบามาไม่ได้เกิดในอเมริกา ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องลวงโลก และการออกกฎหมายประกันสุขภาพในปี 2010 ของรัฐบาลเกี่ยวกับการตัดสินใจให้ผู้คนยอมทำอัตวินิบาตกรรมได้

 

ผู้คนที่คิดสวนกระแสจะเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด “โดยที่ไม่ใช้เป็นเรื่องแปลกหรือผิดปกติแต่อย่างใด” นักวิจัยเขียน ทฤษฎีสมคบคิดนั้น “หลายทฤษฎีส่วนใหญ่ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี (เช่น การนำเสนอเรื่องราว) ” หรือแม้แต่การใช้เหตุผลของผู้คนที่ส่งเสริมหลักทฤษฎีโดยไม่อาศัยหลักฐาน พวกเขายังบอกด้วยว่า “การใช้คำอธิบายกับการใช้อคติอย่างใดอย่างหนึ่งบ่อยครั้งมันไม่ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางข้อมูลเลย”

 

แต่ปัจจัยอื่น ๆ นั้นส่วนหนึ่งทำให้ทฤษฎีสมคบคิดมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น นักวิจัยกล่าวว่า การส่งเสริมให้ผู้คนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาจดูเหมือนไม่ได้ช่วยอะไร แต่มันเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ

 

“คาดว่า พวกเราเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากเท่าไรนัก”

 

“เช่นกันพวกเราสามารถทำบางอย่างที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างนิสัยใหม่หรือการพูดถึงข่าวเฟคนิวส์”

 

นักการศึกษาสามารถส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่โรงเรียนได้ และทางด้านนักหนังสือพิมพ์ก็สามารถ “เปิดการรับรู้ของพวกเขาได้ว่า จะต้องทำอะไร”

 

“กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนรับรู้ข่าวสารก็คือ จะต้องกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความสงสัยมากขึ้น คุณจะต้องกระตุ้นให้ผู้คนคิดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ไม่เพียงแค่คิดแบบลวก ๆ เท่านั้น แต่จะต้องทำให้ผู้บริโภคเกิดความสงสัยและนำไปสู่การเยาะเย้ยถากถางอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมีการเยาะเย้ยขึ้นมาด้วยคำพูด พวกเขาเริ่มคิดแล้วว่า สิ่งที่พวกเขาเชื่อมันผิด เป็นข้อมูลที่ไม่คู่ควรต่อพวกเขา”

 

ที่มา : sciencedaily.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
1
ทั้งหมด
97,514