เผยกลเม็ดการเบี่ยงเบนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแยบยล

เผยกลเม็ดการเบี่ยงเบนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแยบยล

เผยกลเม็ดการเบี่ยงเบนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแยบยล เผยกลเม็ดการเบี่ยงเบนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแยบยล

เผยกลเม็ดการเบี่ยงเบนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแยบยล
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดจิตวิทยาทั่วไป-พัฒนาตนเอง
30 มกราคม 2565, 02:23
ทะเลสาบ Lanier ที่จอร์เจียเป็นบ่อน้ำสำคัญสำหรับคนที่อยู่ในชานเมืองกับคนที่อาศัยอยู่ในหัวเมืองในแอตแลนตา เมื่อระดับน้ำในทะเลสายลดน้อยลงในปริมาณที่ต่ำ จะมีผู้คนทำการกักตุนน้ำมากขึ้น และรายงานข่าวต่าง ๆ เผยภาพให้เห็นถึงบ่อทะเลสาบที่เหลือแต่โคลน

เรื่องนี้มีผลกระทบต่อบางประเทศ การกักเก็บน้ำถือเป็นการกระทำที่เอาเปรียบ ผู้คนมีการกักเก็บน้ำจนเคยชินและสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทำให้วิกฤตการณ์ถูกเบี่ยงเบนออกไป แต่เมื่อผ่านพ้นวิกฤตแล้ว ระดับน้ำจะกลับมาเหมือนเดิมจนกระทั่งเกิดความขาดแคลนน้ำในครั้งต่อไป

 

แรงบันดาลใจนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ทางด้านนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียได้ทำการพัฒนาทฤษฎีไปจนถึงทำการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นทางสิ่งแวดล้อม หลักการก็คือ พวกเขาได้ทำการรวบรวมทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองและการกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยพวกเขาได้เรียกว่าเป็น “เหตุการณ์ร้ายแรงส่วนรวมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้” โดยงานวิจัยได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Proceedings Of The National Academy Of Sciences

 

จากการศึกษาถึงผลกระทบพฤติกรรมที่ทำให้มีการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองนั้น มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่มาที่ไปของตัวอย่างมาจากชาวนากลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งได้ทำการแชร์ทุ่งนาระหว่างกัน โดยชาวนาแต่ละคนกำลังคิดอยู่ว่า จะทำการเลี้ยงต้นหญ้าหรือปล่อยให้ฝูงสัตว์กินหญ้าทั้งหมดดี เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้คู่แข่งได้เปรียบ ชาวนาแต่ละคนตัดสินใจว่า จะพยายามกอบโกยผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดจากการปล่อยให้ฝูงแกะทำการเล็มต้นหญ้าเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ ฝูงแกะเล็มหญ้ามากเกินไปและสร้างความเสียหายต่อทุ่งนา ความขัดแย้งกันจึงเกิดขึ้น ผลประโยชน์ที่อยู่ในมือของชาวนาแต่ละคนในระยะยาวก็ร่อยหรอลงไปเต็มทีหากพวกเขายังจับมือเดินหน้ากันต่อไปและยังปล่อยให้ฝูงแกะเล็มหญ้าแบบนี้ต่อไป

 

แต่ละคนได้แสดงพฤติกรรมในการตักตวงผลประโยชน์เข้าตัวเอง ทำให้พวกเขาสร้างความเลวร้ายที่ตามมาจนกลายเป็น “เหตุการณ์ร้ายแรงต่อส่วนร่วม” แนวคิดนี้มีการนำไปใช้เมื่อประมาณเกือบ 50 ปีก่อนโดยนักนิเวศวิทยาอย่าง Garrett Hardin (ซึ่งเป็นคนที่มองว่า “เหตุการณ์ร้ายแรง” ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้) อย่างไรก็ตามที่มาที่ไปของตัวอย่างนี้ก็ไม่ได้รวมไปถึงระบบกลไกที่ปลุกเร้าให้มีการร่วมมือกันในการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง

 

“การกระทำของพวกเราทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป และในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลที่ช่วยปลุกเร้าการกระทำของพวกเราในอนาคต” กล่าวโดย Joshua Weitz ซึ่งเป็นหัวหน้าวิจัยและเป็นอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชีววิทยาในจอร์เจียและเป็นผู้อำนวยการของสถาบัน Interdisciplinary Graduate Program  “ทฤษฎีในรายงานของพวกเรามีจุดมุ่งหมายในเรื่องของการร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันจนก่อให้เกิดวิวัฒนาการการกระทำแบบร่วมมือกันและสิ่งแวดล้อม”

 

ยังมีหลายกรณีตัวอย่างด้วยกันที่ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ร้ายแรงต่อส่วนรวม ตัวอย่างนึงก็คือ การยับยั้งการใช้ยาปฎิชีวนะในจุลินทรีย์ ยาปฎิชีวนะเป็นยาที่มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบใช้กันและมักจะชอบใช้ยาปฎิชีวนะต่อการทำเกษตรกรรมในการป้องกันศัตรูพืช ส่วนใหญ่ยาปฎิชีวนะมีการแพร่กระจายจนส่งผลต่อการมีผู้คนเจ็บไข้ได้ป่วยมากขึ้นจากโรคต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยเหตุนี้แต่ละคนมักจะพยายามตักตวงผลประโยชน์ตัวเองให้มากที่สุดโดยที่ไม่คำนึงถึงผลผลิตสินค้าการเกษตรที่ด้อยลงจากการใช้ยาปฎิชีวนะ

 

กรณีตัวอย่างอื่น ๆ เกี่ยวกับการยับยั้งการตัดสินใจของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการไม่ยอมฉีดวัคซีนป้องกันโรคของเด็กเล็กอย่างเช่นโรคหัด, โรคคางทูม, และโรคหัดเยอรมันนั้น สิ่งที่สำคัญมากก็คือ จะต้องไม่ยอมรับในงานวิจัยผิด ๆ ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคออทิสซึมกับการฉีดวัคซีน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ทางพ่อแม่หลายคนไม่ตัดสินใจยอมฉีดวัคซีนให้กับลูก ๆ จนถึงตอนนี้ประชากรมีภาวะภูมิคุ้มกันน้อยลง จากนั้นเชื้อโรคก็มีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้ผู้คนถึงขั้นเสียชีวิตได้จากการที่มีโรคระบาดแพร่เข้ามาเป็นบางช่วงหรือลุกลามอย่างรวดเร็ว

 

“แต่ละคนมีการแสดงออกถึงการปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสำหรับพวกเขาเพียงลำพัง โดยตอนจบนั้นจะดูแย่มากหากพวกเขาให้ความร่วมมือกัน” Weitz กล่าว “ตัวอย่างเช่น การที่คนส่วนใหญ่มองว่า การฉีดวัคซีนบ่อยมากเกินไปนั้น จะยิ่งทำให้เชื้อร้ายน่ากลัวมากขึ้น เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าเชื้อร้ายจะต้องกลับมาหากมีการฉีดวัคซีนใหม่”

 

งานวิจัยได้เสนอการใช้เกมรูปแบบใหม่พร้อมกับทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา, ทุ่งหญ้า, ยาปฎิชีวนะ, หรือการใช้วัคซีนที่ทำให้แต่ละคนเริ่มคำนึงถึงผลประโยชน์ตัวเอง สภาพแวดล้อมกับวิวัฒนาการการให้ความร่วมมือกันก็สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ออกมาได้

 

“ผู้คนจะมีการใช้น้ำมากขึ้นก็ต่อเมื่อน้ำประปาเมื่อเหลืออยู่ไม่มาก ซึ่งต่างไปจากตอนที่ระดับน้ำมีเหลือเฟือ” Weitz กล่าว “เมื่อสิ่งต่าง ๆ ดูเลวร้ายมากขึ้นและสินค้าต่าง ๆ เริ่มเหลือน้อยลง อาจมีการให้ความร่วมมือกันเมื่ออยู่ในปัจจัยแวดล้อมที่ดี”

 

ไม่เหมือนกับกรณีตัวอย่างก่อนหน้านี้ที่แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ร้ายแรง ทางด้าน Weitz กับคณะได้รายงานว่า เหตุการณ์ร้ายแรงสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้อีกครั้ง รายงานอย่างเป็นทางการนั้น นักวิจัยหลายคนได้ทำการประยุกต์รูปแบบทฤษฎีเกมต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มที่ผู้คนให้ความร่วมมือกันและตามเงื่อนไขปัจจัยแวดล้อม

 

เช่นกันงานวิจัยเผยให้เห็นถึงทฤษฎีที่ใช้ในการทดสอบเหตุการณ์ร้ายแรงที่ถูกเบี่ยงเบนไปโดยมีการประยุกต์ใช้ในทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ของ Weitz กับคณะพบว่า เหตุการณ์ร้ายแรงที่ถูกเบี่ยงเบนไป มีความเป็นไปได้เมื่อผู้คนให้ความร่วมมือกันแม้ว่าสภาพแวดล้อมจะขาดซึ่งทรัพยากรและยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

“บทเรียนอื่น ๆ ก็มีเรื่องของสภาพแวดล้อมในอุดมคติ” กล่าวโดย Weitz โดยเขากล่าวต่อไปว่า “กลุ่มคนที่เกาะกลุ่มเล็ก ๆสามารถทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมและเงื่อนไขปัจจัยสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า”

 

ที่มา : sciencedaily.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
2
ทั้งหมด
97,376