ประเทศที่มีน้ำมันมักถูกแทรกแซงจากต่างชาติเสมอ?

ประเทศที่มีน้ำมันมักถูกแทรกแซงจากต่างชาติเสมอ?

ประเทศที่มีน้ำมันมักถูกแทรกแซงจากต่างชาติเสมอ? ประเทศที่มีน้ำมันมักถูกแทรกแซงจากต่างชาติเสมอ?

ประเทศที่มีน้ำมันมักถูกแทรกแซงจากต่างชาติเสมอ?
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
บทความพิเศษ!
12 กุมภาพันธ์ 2565, 11:01
นักวิจัยได้ทำการค้นหาหลักฐานที่นักทฤษฎีสมคบคิดได้ยืนยันอย่างหนักแน่นก็คือ เรื่องน้ำมันบ่อยครั้งมักจะถูกใช้เหตุผลในการทำสงครามกับประเทศอื่นอยู่เสมอ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Portsmouth,Warwick ได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลที่ทำให้ประเทศที่สามทำสงครามกลางเมืองและวิเคราะห์แรงจูงใจทางเศรษฐกิจของผู้คนภายในประเทศ

 

พวกเขาพบว่า การที่หลายประเทศตัดสินใจเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นจะมีเรื่องของน้ำมันกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์หรือชาติพันธุ์

 

สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นนั้น 90 เปอร์เซ็นต์มาจากความขัดแย้งตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และงานวิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างจาก 69 ประเทศที่มีการทำสงครามกลางเมืองระหว่างปี 1945 กับ 1999 โดย 2 ใน 3 ประเทศที่มีสงครามกลางเมืองนั้น มาจากการแทรกแซงของประเทศที่สามหรือองค์กรภายนอก

 

นักวิจัยต้องการค้นหาปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ประเทศที่สามถูกแทรกแซงจากสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

 

Dr.Sekeris กล่าวว่า “พวกเราพบว่า หลายประเทศที่มีการผลิตน้ำมันนั้น ตกเป็นเป้าหมายของการแทรกแซงจากต่างชาติหากสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นมา

 

“การแทรกแซงทางการทหารถือเป็นต้นทุนที่มีราคาแพงและมีความเสี่ยงสูงมาก ไม่มีประเทศไหนอยากเข้าร่วมสงครามกลางเมืองกับประเทศอื่นหากไม่มีเรื่องของผลประโยชน์หรือมีความเป็นไปได้ที่ประเทศนั้นจะได้รับผลประโยชน์

 

“พวกเราต้องก้าวข้ามทฤษฎีสมคบคิดและจะต้องทำการวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างระมัดระวัง โดยจะต้องทำการวิเคราะห์อย่างเช่น น้ำมันในฐานะที่เป็นตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจในแต่ละประเทศที่จะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น

 

“ผลลัพธ์ที่ออกมาชี้ให้เห็นว่า ประเทศภายนอกมีแรงจูงใจที่จะเข้าร่วมทำสงครามหากพวกเขาสามารถควบคุมผลประโยชน์ทางการเงินที่ได้รับได้”

 

โดยนิตยสาร Journal Of Conflict Resolution ได้ตีพิมพ์รายละเอียดเอาไว้ดังนี้ :

 

1. ยิ่งประเทศนั้นมีน้ำมันมากเท่าไร ยิ่งทำให้ประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงการทำสงครามกลางเมืองภายในประเทศนั้นมากขึ้น

 

2. ยิ่งประเทศนั้นนำเข้าน้ำมันมากเท่าไร ก็มีความเป็นไปได้ที่ประเทศนั้นจะถูกแทรกแซงการผลิตน้ำมันในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองมากเท่านั้น

 

Dr.Bove กล่าวว่า : “ก่อนที่ ISIS จะเข้ามายึดครองแหล่งผลิตน้ำมันทางตอนเหนือของประเทศอิรัก น้อยมากที่จะมีการเล่นข่าวเกี่ยวกับกลุ่ม ISIS แต่ทันทีที่กลุ่ม ISIS เข้าใกล้แหล่งผลิตน้ำมัน ก็เริ่มมีข่าวพาดหัวในประเทศซีเรียกับการที่ประเทศอเมริกาได้ส่งโดรนเข้าไปโจมตีกลุ่ม ISIS

 

“พวกเราไม่อยากกล่าวว่า ข้อมูลที่พวกเราค้นพบทำให้เข้าใจเหตุผลที่ประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงการทำสงครามภายในประเทศอื่น แต่เมื่อมาวิเคราะห์อุปสงค์อุปทานน้ำมันด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เข้าใจได้ถึงเหตุผลต่าง ๆ ที่บางประเทศเข้าไปแทรกแซงการทำสงครามกลางเมืองในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

 

“การอยากหุบบ่อน้ำมันบ่อยครั้งก็เป็นเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ถึงเบื้องหลังการเข้าไปแทรกแซงในประเทศลิเบีย และหลายประเทศไม่ค่อยอยากเข้าไปแทรกแซงประเทศซีเรีย แม้ว่าเหตุผลฟังดูไม่ซับซ้อน แต่หลังจากที่ทำการวิเคราะห์ดี ๆ แล้ว พวกเราพบว่า เศรษฐกิจภายในประเทศถือเป็นแรงจูงใจสำคัญที่นำไปสู่การแทรกแซง”

 

จากการวิจัยพบว่า ประเทศที่สามมีแนวโน้มที่จะเข้าไปแทรกแซงด้วยเหตุผลดังนี้คือ

 

1. พวกเขามีอำนาจมากพอที่จะเข้าไปแทรกแซง

 

2. ฝ่ายกบฎมีความแข็งแกร่งและมีอาวุธทันสมัย

 

3. มีชาติพันธุ์ใกล้เคียงกันระหว่าง 2 ประเทศและ/หรือ

 

4. สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นไปผลมาจากสงครามเย็นจากการแข่งขันชิงชัยระหว่างประเทศมหาอำนาจ

 

กรณีตัวอย่างต่าง ๆ นี้ ทางนักวิจัยได้ทำการสำรวจการทำสงครามกลางเมืองที่อัลโกด้าในปี 1975 จนถึงสิ้นสุดสงครามเย็น รวมไปถึงประเทศกัวเตมาลา อินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์ และการที่ประเทศอเมริกาได้ให้การสนับสนุนระบอบเผด็จการในประเทศที่มีน้ำมันมั่งคั่ง เช่นกันได้วิเคราะห์การที่สหราชอาณาจักรได้เข้าไปแทรกแซงการทำสงครามกลางเมืองประเทศไนจีเรียในช่วง 1967-1970 อีกทั้งไม่มีการแทรกแซงประเทศอื่น ๆ ที่ทำสงครามกลางเมืองด้วยเหตุผลว่า ไม่มีน้ำมันสำรอง (ทั้งประเทศเซียร์ราลีโอน ประเทศโรดีเชีย ประเทศซิมบับเว) และการที่อดีตสหภาพโซเวียตได้เข้าไปแทรกแซงในประเทศอินโดนีเซีย ปี 1958 ไนจีเรียปี 1967-1968 และประเทศอิรักปี 1973

 

นักวิจัยได้กล่าวว่า ประเทศที่มีน้ำมันสำรองในบริเวณอ่าวนั้น ทั้งประเทศเม็กซิโกกับอินโดนีเซียไม่เคยมีประวัติในการแทรกแซงประเทศอื่นทางด้านการทหาร แม้ว่าพวกเขามีข้อได้เปรียบในเรื่องของกำลังอาวุธทางการทหารก็ตาม โดยประเทศแถบตะวันออกไม่ค่อยพึ่งพาในเรื่องของพลังงานพวกนี้มากนัก และในประเทศจีนเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาพลังงานพวกนี้มาก โดยแรงจูงใจที่ทำให้ประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงการทำสงครามประเทศอื่นนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ข้ออ้างในการแทรกแซงจะเปลี่ยนไปในอนาคต

 

ที่มา : sciencedaily.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
22
ทั้งหมด
96,101