การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้

การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้

การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้

การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงกับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดการเมือง
5 พฤศจิกายน 2564, 14:17
ผู้ลงคะแนนเสียงที่ชื่นชอบในระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ได้หวังที่จะชนะเลือกตั้ง อีกทั้งเกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น หรือเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น

ทางด้าน Eric Chang กับ Sung Min Han ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีกับการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาใน 43 ประเทศ ประกอบไปด้วยประเทศอเมริกาและพบว่าเพิ่มช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น จนเกิดช่องว่างความพึงพอใจในระบอบประชาธิปไตยระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้เลือกตั้ง การค้นพบนี้มีการตีพิมพ์ในช่วงเดือนธันวาคมในนิตยสาร Electoral Studies

 

“งานวิจัยนี้ชี้ว่า ระดับรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนเบื้องหลังความพึงพอใจระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย” กล่าวโดย Chang ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ “การเลือกตั้งของคนรวยกับคนจนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เห็นได้ชัดเมื่อมีช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้”

 

ความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ในประเทศอเมริกานั้นเพิ่มมากขึ้นไม่กี่สิบปีมานี้ โดยทำให้คนรวยยิ่งรวยมากขึ้น การแชร์รายได้จากสมาชิกกลุ่มที่รวยที่สุด 10 เปอร์เซ็นต์นั้น เพิ่มมากขึ้นถึง 32 เปอร์เซ็นต์ในปี 1970 จนถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2014 สอดคล้องกับสำมะโนสหรัฐ

 

ช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี Donald Trump ได้ให้คำมั่นว่า จะทำการฟื้นฟูเมืองเล็กๆในประเทศอเมริกา ให้คำมั่นสัญญาณว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจะเข้ามาช่วยเรื่องช่องว่างทางรายได้

 

งานวิจัยในอดีตพบว่า ผู้ลงคะแนนเสียงที่สนับสนุนพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง มีความพึงพอใจต่อระบอบประชาธิปไตยมากกว่าผู้ลงคะแนนพรรคที่แพ้เลือกตั้ง ทฤษฎีช่องว่างผู้ชนะ-ผู้แพ้นั้น ความแตกต่างในระดับความพึงพอใจมีให้เห็นน้อยจากคนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่มาจากนโยบายเป็นหลัก ซึ่งส่งผลต่อระดับสถาบันด้วย

 

แต่งานวิจัย MSU ได้อธิบายว่า ผลกระทบจากความไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจนั้นมาจากความพึงพอใจทางด้านระบอบประชาธิปไตยมากกว่าผลกระทบจากระบบสถาบันทางการเมือง

 

เนื่องจากทั้งชนชั้นบนกับล่างต่างได้รับผลกระทบจากการที่นักการเมืองเข้ามาจัดการปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ โดยที่ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างความรวยกับจนมากนัก แต่ความจนนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระจายรายได้ใหม่ ในขณะเดียวกันความรวยก็กลายเป็นเรื่องที่วิตกกังวลมากขึ้นจากความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียรายได้

 

“การค้นพบของพวกเรานั้นชี้ว่า รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันเป็นหลุมพรางของผู้ชนะกับผู้แพ้ทางการเมือง” Chang กล่าว “และความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนี้เป็นตัวกัดเซาะความพึงพอใจของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตยและนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพขึ้นมา”

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : sciencedaily.com 

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
2
ทั้งหมด
97,514