การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดสุขภาพ การดูแลตัวเอง
5 พฤศจิกายน 2564, 13:35
การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงจากการนั่งอยู่เฉย ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจล้มเหลวในอนาคตหากออกกำลังกายมากเพียงพอหรือหากเริ่มต้นออกกำลังกาย สอดคล้องกับนักวิจัยที่ทำขึ้นโดยแพทย์โรคหัวใจจากศูนย์วิจัยหัวใจ

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การออกกำลังกายควรที่จะเริ่มต้นในช่วงวัยกลางคน (ก่อนที่จะถึงอายุ 65 ปี) ทำให้หัวใจเริ่มมีการหล่อหลอมและเริ่มกระบวนการฟื้นฟูเยียวยาใหม่ สอดคล้องกับการค้นพบของนักวิจัยจากสถาบัน IEEM และจากความร่วมมือในภาคส่วนอื่น ๆ

 

การออกกำลังกายจะต้องออก 4-5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งการออกวันละ 2-3 วันนั้น ยังไม่เพียงพอซึ่งนักวิจัยพบเรื่องนี้ก่อนหน้านี้

 

“งานวิจัยที่ทำขึ้นโดยทีมของพวกเรานั้น ยึดหลักงานวิจัยในช่วง 5 ปีก่อน การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญในชีวิตมาก” กล่าวโดยหัวหน้าวิจัย Dr. Benjamin Levine “ผมคิดว่าผู้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสุขลักษณะที่เหมาะสมได้ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันหรืออาบน้ำ

 

การออกกำลังกายเป็นเวลา 4-5 วันต่อสัปดาห์นั้น ปกติแล้วจะต้องใช้เวลาออกกำลังกาย 30 นาทีบวกกับอุ่นเครื่องและยืดเส้นยืดสายหลังจากที่ออกกำลังกายเสร็จแล้ว

 

  • วันแรกของสัปดาห์จะต้องออกกำลังกายหนักหน่วงถึง 30 นาที เช่นการแอโรบิคที่ช่วยให้อัตราหัวใจเต้นเร็วขึ้นถึง 95 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลามากถึง 4 นาที พร้อมกับใช้เวลาฟื้นฟูตัวเองอีก 3 นาทีทุก ๆ การออกกำลังกาย 4 ครั้ง

 

  • การออกกำลังกายแต่ละครั้งต้องมีระดับการเต้นหัวใจที่ต่ำ

 

  • วันหนึ่งจะต้องออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมงและทำให้ระดับการเต้นหัวใจอยู่ปานกลาง (เนื่องจากเป็นแบบแผนของชีวิต Levine กล่าวว่า ควรทำกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงด้วยอย่างเช่นเล่นเทนนิส เต้นแอโรบิค เดินหรือปั่นจักรยาน)

 

  • ในช่วงวันสองวันจะต้องออกกำลังกายรักษาระดับการเต้นหัวใจปานกลาง หมายความว่าผู้ออกกำลังกายต้องทำให้ตัวเองเหงื่ออกมา หายใจในระดับที่ไม่มาก แต่ยังสามารถพูดคุยสนทนากันได้อยู่ จากการวิจัยด้วยการทำแบบทดสอบการพูดคุยกันนั้น แต่ละคนต้องทำการพูดคุยระหว่างที่มีการทดสอบการออกกำลังกายและวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

 

  • ในช่วง 1 -2 วันต้องมีการออกกำลังกายสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อโดยการยกน้ำหนักหรือใช้เครื่องออกกำลังกายโดยแยกออกเป็นวัน ๆ หรือหลังจากที่มีความแข็งแรงพอแล้ว

 

จากการศึกษานั้น ผู้เข้าร่วมได้ทำตามขั้นตอนการออกกำลังกาย โดยเริ่มจากการออกกำลังกาย 3 วันเป็นเวลา 30 นาที เริ่มออกกำลังกายในระดับปานกลางในช่วง 3 เดือนแรกและมากที่สุดถึง 10 เดือนเมื่อได้มีการแอโรบิคหนักหน่วงมากขึ้น

 

ผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คนในงานวิจัยนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ที่ทำการออกกำลังกายภายใต้การควบคุมดูแล และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่มีการออกกำลังกายโดยใช้โยคะกับออกกำลังกายแบบสมดุล

 

ในช่วงเกือบ 2 ปีของงานวิจัยเผยให้เห็นว่าผู้คน 18 เปอร์เซ็นต์มีปริมาณออกซิเจนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่มีการออกกำลังกายและผู้คนมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์มีการให้ความร่วมมือหรือกล้ามเนื้อบริเวณหัวใจห้องล่างด้านซ้ายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทางด้าน Dr.Levince ได้บันทึกเอาไว้ว่า เขาได้ทำการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหัวใจและความยืดหยุ่น มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ยืดเส้นยืดสายกับกลุ่มที่นั่งอยู่เฉย ๆ

 

ผู้สูงอายุที่นั่งอยู่เฉย ๆ มีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณห้องล่างซ้ายแข็งกระด้างขึ้นมา บริเวณช่องโพรงเป็นตัวปั้มออกซิเจนกลับคืนสู่ร่างกาย เขาอธิบาย

 

“เมื่อกล้ามเนื้อแข็งกระด้างขึ้นมา คุณต้องเจอกับความกดดันสูงและช่องโพรงหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่หากเกิดวิกฤตขึ้นมา เลือดสามารถสูบฉีดกลับขึ้นไปยังบริเวณปอด จึงยิ่งทำให้มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้มากขึ้นอีก” กล่าวโดย Dr.Levine

 

งานวิจัยก่อนหน้านี้จากแพทย์หัวใจที่ Southwestern ชี้ว่า บริเวณหัวใจห้องด้านซ้ายจะแข็งกระด้างเมื่อผู้คนอยู่ในวัยกลางคนที่ไม่เคยออกกำลังกายและไม่แข็งแรง ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงที่ห้องหัวใจที่แข็งกระด้างพร้อมกับไม่สามารถสูบฉีดเหลือได้ดีเท่าที่ควร

 

อย่างไรก็ตามนักวิจัยพบว่า ห้องหัวใจของนักกีฬามืออาชีพมีขนาดใหญ่และมีความยืดหยุ่น และการออกกำลังกาย 4-5 วันเป็นเวลามากกว่า 10  ปีเพียงพอทำให้พวกเราแข็งแรงเหมือนกับนักกีฬามืออาชีพได้แล้ว

 

จากการวิจัยปัจจุบันนั้น นักวิจัยอยากรู้ว่าการออกกำลังกายสามารถฟื้นฟูให้หัวใจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นจากคนที่ชอบอยู่เฉย ๆ มาก่อนหน้านี้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะคนที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน งานวิจัยก่อนหน้านี้ของ Dr.Levine เผยให้เห็นว่า หัวใจมีความแข็งแรงมากขึ้นในช่วงวัยหนุ่มสาวหลังจากที่มีการออกกำลังกายในแต่ละปี แต่เป็นเรื่องแปลกใจที่หัวใจพัฒนาช้าลงหากเริ่มออกกำลังกายในช่วง 65 ปีขึ้นไป

 

เริ่มต้นงานวิจัยนั้น นักวิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วม 53 คนที่มีอายุ 45 ถึง 64 ปีให้มาทำการทดสอบศูนย์วิจัยหัวใจดักลาส ซึ่งรวมไปถึงทำผู้ที่อยู่อาศัยดักลาสกว่า 6 พันคนและเป็นศูนย์วิจัยหัวใจแห่งเดียว และศึกษาผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศูนย์วิจัยหัวใจดักลาสถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาการวินิจฉัย หาแนวทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจให้ดียิ่งขึ้น์

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : sciencedaily.com 

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
2
ทั้งหมด
97,609