งานวิจัยพบว่า ระบอบประชาธิปไตยนำพาเศรษฐกิจเติบโตเร็วมากกว่าระบอบอื่น

งานวิจัยพบว่า ระบอบประชาธิปไตยนำพาเศรษฐกิจเติบโตเร็วมากกว่าระบอบอื่น

งานวิจัยพบว่า ระบอบประชาธิปไตยนำพาเศรษฐกิจเติบโตเร็วมากกว่าระบอบอื่น งานวิจัยพบว่า ระบอบประชาธิปไตยนำพาเศรษฐกิจเติบโตเร็วมากกว่าระบอบอื่น

งานวิจัยพบว่า ระบอบประชาธิปไตยนำพาเศรษฐกิจเติบโตเร็วมากกว่าระบอบอื่น
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดการเมือง
5 พฤศจิกายน 2564, 14:17
ตราบใดที่ระบอบประชาธิปไตยยังมีอิทธิพลอยู่ ระบอบประชาธิปไตยยังคงเป็นเรื่องที่น่าค้นหาอยู่ เป็นคำเตือนจากพลาโตว่าด้วยการปกครองแบบเผด็จการมวลชนในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น

แต่จากงานวิจัยใหม่จากนักเศรษฐศาสตร์ MIT ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ระบอบประชาธิปไตยยิ่งมีการพัฒนามากขึ้น จริงๆแล้วหลายๆประเทศที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยมีอัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มมากขึ้นถึง 20 % มาตลอด 25 ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ

 

“ผมไม่ได้รู้สึกแปลกใจเลยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศที่ไม่ได้ปกครองด้วยประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการที่เจอปัญหาหลายมิติด้วยกัน” กล่าวโดย Daron Acemoglu นักเศรษฐศาสตร์ MIT

 

โดยรวมแล้วทางด้าน Acemoglu ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นการลงทุนให้กับประเทศโดยภาพรวม โดยเฉพาะทุนทางสุขภาพและทุนมนุษย์ ซึ่งไม่ค่อยมีให้เห็นนักในประเทศที่เป็นระบอบเผด็จการ

 

“การปฏิรูปหลายประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่เห็นผลดีเท่าที่ควร ซึ่งประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้น สามารถทำได้ดีกว่า” เขากล่าว

 

งานวิจัย “การเปลี่ยนแปลง”

 

Acemoglu กับ Robinson ได้ทำงานด้วยกันมากว่า 20 ปี โดยทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสถาบัน ระบบการเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยงานวิจัยที่ทำอยู่นี้ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น

 

ในการทำการวิจัยนั้น นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบประเทศกว่า 184 ประเทศตลอดในช่วงปี 1960 จนถึง 2010 ในช่วงเวลานั้น ประเทศที่เป็นระบอบประชาธิปไตยกว่า 122 ประเทศนั้น มีอยู่ 71 ประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบประชาธิปไตยไปสู่ระบอบการปกครองที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย

 

งานวิจัยได้โฟกัสประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากส่วนหนึ่งสามารถเปรียบเทียบการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคที่เป็นประชาธิปไตยและไม่ใช่ประชาธิปไตยได้ โดยแต่ละช่วงเวลาไม่สามารถทำการเปรียบเทียบเรื่องส่วนดีส่วนเสียได้ โดยประเทศจีนอาจเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วกว่าประเทศฝรั่งเศสมาหลาย 10 ปี แต่ Acemoglu ได้กล่าวว่า “ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว และประเทศจีนเพิ่งมีรายได้เพียงแค่ 1/20 ต่อหัวเมื่อเทียบกับประเทศฝรั่งเศส” ซึ่งมีความแตกต่างมากตรงส่วนนี้

 

ทางด้าน Acemoglu กับคณะได้ตั้งเป้าหมายว่า “จะต้องมาดูคำถามที่ย้อนแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า ประเทศมีการเปลี่ยนรูปแบบรัฐบาลอย่างไร” โดยเขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นที่แน่ชัดว่า จะต้องทำการโฟกัสในการเปลี่ยนแปลง” ก็คือประเทศต่างๆมีการเปลี่ยนรัฐบาลหนึ่งไปยังรัฐบาลหนึ่ง โดยจะต้องติดตามวิถีการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้นักวิจัยสามารถตั้งข้อสรุปได้

 

เช่นกันพวกเขาพบว่าประเทศต่างๆที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยกว่า 60 ปีนั้น ไม่ได้มีการขับเคลื่อนประเทศแบบสุ่ม แต่เป็นช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจเกิดความตึงเครียดขึ้นมา โดยต้องอาศัยวิถีแบบประชาธิปไตยเข้าช่วย ในหลายประเทศเริ่มต้นอย่างช้าๆในขณะที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ

 

“การล่มสลายของระบอบเผด็จการนั้นเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ” Acemoglu กล่าว “แต่ไม่สามารถมองได้ว่า เกิดจากเศรษฐกิจเพีบงอย่างเดียว โดยปัญหาต่างๆมีความถดถอยอย่างรากลึกก่อนที่จะประเทศกลายเป็นระบอบประชาธิปไตย และคุณยังเจอกับรายได้ GDP ต่อหัวต่ำเป็นเวลาหลายปี หลังจากนั้นเป็นต้นมาคุณพยายามฟื้นฟูเยียวยาประเทศในส่วนที่เป็นรากลึก ดังนั้นคุณต้องเจอกับความถดถอยทาง GDP เป็นเวลาหลายปีในช่วงที่ประเทศเป็นประชาธิปไตย”

 

เมื่อได้มาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ Acemoglu กล่าวว่า “สิ่งที่พวกเราพบก็คือว่า ภาวะเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตยมีการเติบโตช้าในช่วงแรก ด้วยเหตุนี้ในช่วง 5 หรือ 6 ปีนั้น ประชาชนเริ่มลืมตาอ้าปากได้ดีกว่าประชาชนที่ถูกปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ในช่วง 10-15 ปีประชาชนเริ่มมีเงินทองมากขึ้นเล็กน้อย และในช่วง 25 ปี ประชาชนอยู่ในฐานะร่ำรวยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์”

 

การลงทุนให้กับประชาชน

 

ในกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ทางด้าน Acemoglu ได้กล่าวว่า รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะใช้ภาษีและลงทุนมากกว่าประเทศที่ปกครองด้วยเผด็จการ โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลสุขภาพและการศึกษา

 

“ระบอบประชาธิปไตยนั้นสามารถพัฒนาประเทศหลายอย่างด้วยกัน แต่หลักๆที่พวกเราเห็นก็คือ มีการลงทุนเรื่องของการดูแลสุขภาพและการศึกษามาก” Acemoglu กล่าว โดยข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับแนวโน้มในช่วงปี 2014 นั้น ผู้เขียนบางคนได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า “ประชาธิปไตย,การจัดสรรปันส่วนใหม่และความไม่เท่าเทียม”

 

โดยส่วนหนึ่งนั้น Acemogly ได้เน้นย้ำว่า ผลลัพธ์ต่างๆที่ออกมาของแต่ละประเทศนั้น ก็คือประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตย แต่ล้มเหลวเรื่องของการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ

 

“นั่นเป็นผลลัพธ์ที่ออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้” กล่าวโดย Acemoglu “โดยบางประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมากในกรณีตัวอย่างของพวกเรา แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นอย่างไร ผมกล่าวได้ตามผลลัพธ์ที่ออกมา”

 

ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ออกมาเป็นที่ประจักษ์ชัด ทางด้าน Acemoglu ได้เตือนว่า การเมืองในอนาคตแต่ละประเทศนั้นไม่มีอะไรที่แน่นอน โดยการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยไม่ได้เข้าถึงทุกๆคนก็จริง และบางคนอาจปล่อยให้ระบอบประชาธิปไตยเหี่ยวเฉาไปเองทั้งทางการเงินหรือผลประโยชน์ทางการเมือง

 

“จึงมีความเป็นได้ที่จะเห็นเอกสารเผยแพร่ไปในทางที่เป็นแง่ดี มีเรื่องราวใหม่ๆ (เกี่ยวกับประชาธิปไตย) ในแบบลักษณะ win-win” กล่าวโดย Acemoglu “ที่ผมอ่านนี่ก็ไม่ใช่ข่าวดีเท่าไร ในเอกสารนี้ทำให้เข้าใจว่า ประชาธิปไตยทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเติบโตไปได้ตลอด”

 

ในการวิจัยตัวอย่างประเทศต่างๆนั้น Acemoglu กล่าวว่า “พวกเราเห็นหลายประเทศหลายประเทศที่ประชาธิปไตยถดถอย แต่ในช่วง 10 ปีให้หลัง หลายๆประเทศเริ่มมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นระบอบที่เดินเหมือนอยู่ในสวน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจว่า ประโยชน์จากประชาธิปไตยนั้นคืออะไรและมีรอยเลื่อนอยู่ตรงไหน ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญ”

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : sciencedaily.com 

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
2
ทั้งหมด
97,514