ระบบวีดีโอเกมยุคเก่าอาจช่วยทำความเข้าใจระบบของสมองได้

ระบบวีดีโอเกมยุคเก่าอาจช่วยทำความเข้าใจระบบของสมองได้

ระบบวีดีโอเกมยุคเก่าอาจช่วยทำความเข้าใจระบบของสมองได้ ระบบวีดีโอเกมยุคเก่าอาจช่วยทำความเข้าใจระบบของสมองได้

ระบบวีดีโอเกมยุคเก่าอาจช่วยทำความเข้าใจระบบของสมองได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดวิดีโอเกม
5 พฤศจิกายน 2564, 13:36
ความซับซ้อนของโครงข่ายประสาทเทียมถือเป็นเรื่องยากต่อการวิเคราะห์ แต่ระบบประมวลผลที่มนุษย์สร้างขึ้นช่วยทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น จากการวิจัยที่ได้มีการตีพิมพ์ใน PLOS Computational Biology นั้น นักวิจัยหลายคนได้นำวีดีโอเกมยุคเก่า Atari 2600 มาทำการประยุกต์วิเคราะห์ โดยเปิดเกม “Donkey Kong” และพบว่ามีบางอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ไมโครโพรเซสเซอร์จริง ๆ แล้วมีกระบวนการทำงานอย่างไร

วงการประสาทวิทยาศาสตร์ได้นำเรื่องนี้มาวิจัยอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์หลายคนสามารถบันทึกความเคลื่อนไหวทั้งเซลล์ประสาทในส่วนของระบบร่างกายในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามการทดสอบความเที่ยงตรงของการวิเคราะห์ข้อมูลอัลกอรึทึมถือเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าโครงข่ายประสาทเทียมจะมีระบบการทำงานเหมือนกับสมองของแมลงวันผลไม้

 

ในรายงานชิ้นใหม่นั้น ทางด้าน Eric Jonas แห่ง U.C.Berkeley กับ Konrad Kording แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern/ Rehabilitation Institute of Chicago ได้อธิบายถึงความพยายามของพวกเขาในการหลีกเลี่ยงประเด็นนี้โดยทำการประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์ประสาทวิทยาศาสตร์ต่อระบบการประมวลผลที่พวกเขาทำความเข้าใจในส่วนของ 6502 ไมโครโพรเซสเซอร์ จาก Atari 2600

 

เนื่องจากมนุษย์มีการออกแบบโพรเซสเซอร์นี้จากทรานซิสเตอร์ในส่วนของซอฟแวร์ พวกเรารู้ดีว่าทุกระดับมีการทำงานอย่างไรและพวกเราเข้าใจได้เลยว่า ระบบมีวิธีการทำงานอย่างไร” Jonas กล่าว “เป้าหมายของพวกเราก็คือ มุ่งเน้นตรวจสอบจุดบกพร่องบางส่วนเพื่อทำความเข้าใจว่า จะทำการประยุกต์หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคไปจนถึงระบบประมวลผลชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้เมื่อไร”

 

นักวิจัยหลายคนได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประสาทวิทยาศาสตร์เป็นมาตรฐานในส่วนของไมโครโพรเซสเซอร์ Atari 2600 พวกเขาได้ทำการทดสอบว่า เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ในการอธิบายถึงคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเช่น การเชื่อมโยงส่วนที่มีความแตกต่างระหว่างชิพกับผลกระทบจากการทำลายทรานซิสเตอร์ อย่างไรก็ตามเทคนิคต่าง ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้ทำความเข้าใจในระดับเดียวกันในส่วนของนักศึกษาวิศวกรรมเทคโนโลยี

 

สอดคล้องกับ Jonas ที่กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ออกมานั้น “หากไม่ทำการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีต่อประสาทวิทยาศาสตร์อาจไม่มีการถ่ายทอดหรือเคลื่อนตัวได้” Kording กล่าวเพิ่มอีกว่า “การเคลื่อนต้องใช้หลักการทดสอบที่ดีกว่าเดิม ทั้งในหลักทฤษฎีและหลักการวิเคราะห์ข้อมูล”

 

ไมโครโพรเซสเซอร์กับระบบชีววิทยามีความแตกต่างกันมาก ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการค้นหาอยู่ เช่นกันทางด้าน Jonas กับ Kording ก็ไม่พยายามที่จะตรวจสอบกระบวนการทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ในส่วนของชิพ

 

อย่างไรก็ตามจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ มากมายในประสาทวิทยาศาสตร์และชี้ว่า จะต้องหาวิธีการใหม่ ๆ ที่ช่วยทำความเข้าใจกับสมองมากขึ้น “พวกเราไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้มากว่า ระบบวิศวกรรมย้อนกลับชีววิทยามีการสังเคราะห์ระบบวิศวกรรมย้อนกลับได้อย่างไร

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : sciencedaily.com 

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
1
ทั้งหมด
97,376