รายได้ของแรงงานลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

รายได้ของแรงงานลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

รายได้ของแรงงานลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ของแรงงานลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

รายได้ของแรงงานลดน้อยลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
5 พฤศจิกายน 2564, 13:41
แรงงานที่มีรายได้ต่ำในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น กำลังเจอกับความเสี่ยงที่รายได้ลดน้อยลงระหว่างที่มีการล็อคดาวน์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นไปได้น้อยมากที่พวกเขาเหล่านี้จะทำงานที่บ้าน สอดคล้องกับงานวิจัยใหม่

งานวิจัยได้มีการตีพิมพ์ชื่อ Covid Economics : Vetted and Real-Time Papers โดยได้มีการหยิบยกกรณีศึกษาในประเทศไทย ซึ่งยังพบได้จากประเทศอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างแรงงานที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระและกลุ่มที่มีโครงข่ายรองรับทางสังคมต่ำ

 

Dr. Suphanit Piyapromdee ได้กล่าวว่า : การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นอุปสรรคต่อการทำงานหลายอย่างด้วยกัน โดยที่การจ้างงานกับการชำระเงินลดน้อยลงในช่วงที่มีการล็อคดาวน์

 

“จำนวนผู้คนที่มีรายได้ต่ำนั้น มีหลายภาคส่วนเช่นภาคการก่อสร้าง (10 % ในประเทศไทย ; 11.5 % ในกลุ่ม EU-27) หรืออาชีพที่ใช้เครื่องจักร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถทำงานหรือไม่มีรายได้เข้ามา

 

“ด้วยเหตุนี้การที่รัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงเรื่องรายได้ของประชาชนหรือการจ้างงานนั้น ทำให้รายได้ของประชาชนเกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้นมาในช่วงโควิด 19”

 

นักวิจัยพบว่า แรงงานที่มีรายได้ต่ำอย่างเช่นเกษตรกรกับแรงงานก่อสร้างหรือโรงงานนั้น มีแนวโน้มทำงานน้อยลงเมื่อเทียบกับคนอื่นที่มีรายได้จากการทำงานที่สูงกว่า เช่นพนักงานออฟฟิตหรือครู

 

อย่างไรก็ดีแรงงานที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานน้อยลง

 

การค้นพบต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ร่างนโยบายและผู้นำเข้าใจสถานการณ์ช่วงที่มีการล็อคดาวน์ โดยต้องทำการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง

 

Dr. Nada Wasi ได้กล่าวว่า : จากการวิเคราะห์ของพวกเราชี้ว่า แรงงานไม่สามารถที่จะทำงานที่บ้านได้ โดยต้องให้พวกเขากลับมาทำงานในที่ทำงานก่อน ซึ่งประเมินได้ว่า แรงงาน 1 ใน 3 มาจากการกลุ่มรายได้น้อย

 

“ในทางกลับกัน การทำงานใกล้ชิดกับคนอื่นถือเป็นเรื่องปกติ แต่งานต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะมีการทำงานที่บ้าน โดยอาจต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายอีกที”

 

Dr. Ponpoje Porapakkarm ได้ชี้ว่า “คู่แต่งงานที่มีรายได้น้อยมักจะทำงานคล้ายกัน และมีโอกาสที่พวกเขานำงานกลับมาทำที่บ้านไม่ได้ ในขณะที่คู่ที่มีรายได้สูงมักจะมีอาชีพที่แตกต่างกันออกไป”

 

จากการประเมินพบว่า ครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 60 % มีอาชีพคล้ายกัน อย่างเช่น แรงงานอิสระ เมื่อเทียบกับครอบครัวที่มีรายได้มากถึง 20 %

 

นักวิจัยี้ว่า การทดสอบโปรแกรมการบรรเทาเหตุฉุกเฉินจะต้องดูจากรายได้ของครอบครัวนั้น ดูเรื่องการสนับสนุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

 

นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจแรงงานประเทศไทยปี 2019 โดยดูจากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ตรงส่วนนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงตลาดแรงงานจากเหตุวิกฤติโควิด-19 ทั้งตัวบุคคลหรือครอบครัว โดยพวกเขาได้ทำการจัดแบ่งกลุ่มที่ได้รับผลจากโควิด 19 โดยแรงงานที่ได้รับความเสี่ยงจากโควิด-19 นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกันก็คือ ความเสี่ยงที่แรงงานได้รายได้ลดน้อยลงและความเสี่ยงจาการติดต่อหรือแพร่ระบาดของไวรัสในที่ทำงาน โดยแรงงานในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยนั้น มีแนวโน้มเจอความเสี่ยงเนื่องจากงานที่พวกเขาทำอยู่

 

Dr. Warn N Lekfuangfu ได้กล่าวว่า “งานวิจัยของพวกเราเป็นก้าวแรกในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อในส่วนของอุปทานแรงงาน โดยงานวิจัยในอนาคตนั้นจะต้องมาดูอุปสงค์ของแรงงานอย่างเช่นการบริโภคที่ลดน้อยลงและผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : Sciencedaily.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
8
ทั้งหมด
97,376