เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซี.เจบุ๊คส์:
หมวดสุขภาพ การดูแลตัวเอง
5 พฤศจิกายน 2564, 13:47
นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อ DNA ในสเต็มเซลล์ได้อย่างไร ช่วยให้เข้าใจได้ว่า การดื่มเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้อย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยส่วนหนึ่งที่มาจาก Cancer Research UK และมีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature

งานวิจัยก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มองไปในเรื่องของสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่เพาะเลี้ยงในเซลล์โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่งานวิจัยนี้ทางด้านนักวิจัยหลายคนได้ใช้หนูในการทดลอง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายทางพันธุกรรมยังไงบ้าง

 

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ใช้สร้างทำให้แอลกอฮอล์เจือจางเรียกว่าเอทานอลกับหนู จากนั้นพวกเขาก็ได้ทำการวิเคราะห์โคโมโซมกับ DNA เพื่อที่จะทำการประเมินพันธุกรรมที่ได้รับความเสียหายจากอะเซตัลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตออกมาเมื่อร่างกายได้รับแอลกอฮอล์

 

พวกเขาพบว่า อะเซตัลดีไฮด์สามารถทำลายและสร้างความเสียหายต่อ DNA ภายในสเต็มเซลล์เลือดที่นำไปสู่การสร้างโคโมโซมใหม่และปรับเปลี่ยน DNA ภายในเซลล์ใหม่

 

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ว่าแม่พิมพ์ DNA ภายในสเต็มเซลล์เกิดความเสียหายเพราะสเต็มเซลล์เริ่มทำงานบกพร่องขึ้นมาซึ่งนำไปสู่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

 

ด้วยเหตุนี้การค้นพบใหม่ ๆ ช่วยให้พวกเราเข้าใจไดว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง 7 ชนิดมากขึ้นรวมไปถึงมะเร็งเต้านมและลำไส้

 

ทางด้านอาจารย์ Ketan Patel หัวหน้านักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า “มะเร็งบางชนิดมีการพัฒนาตัวมันมากขึ้นเนื่องจาก DNA เกิดความเสียหายภายในสเต็มเซลล์  ในขณะเดียวกันความเสียหายบางครั้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง พวกเราพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวเร่งความเสียหายมากขึ้น”

 

เช่นกันงานวิจัยได้ทำการประเมินว่า ร่างกายมีความพยายามที่จะปกป้องตัวเองอย่างไรกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแอลกอฮอล์ ในช่วงแรกร่างกายมีการปกป้องเอนไซม์ในส่วนที่เรียกว่าเป็น ALDH โดยเอนไซม์จะถูกทำลายโดยอะเซตัลดีไฮด์ไปจนถึงแอซิเตต ซึ่งเซลล์ของพวกเราถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ

 

ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกโดยเฉพาะผู้คนที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขาดเอนไซม์หรือหรือมีความผิดปกติทางเซลล์ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้หากพวกเขาดื่ม จะมีการสร้างอะเซตัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสีผิวที่ผิดปกติและเช่นกันทำให้พวกเขาอยู่ในโหมดอารมณ์ที่ไม่ดี

 

จากการวิจัยพบว่า เมื่อหนูขาดเอนไซน์ ALDH---ALDH2 จากแอลกอฮอล์ ผลลัพธ์ที่ออกมานั้น DNA เกิดความเสียหายภายในเซลล์ต่าง ๆ มากถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับหนูพร้อมกับกระบวนการเอนไซน์ ALDH2

 

ในช่วงต่อมาเซลล์ต่าง ๆ จะเริ่มทำการซ่อมแซม DNA ในส่วนต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะต้องปล่อยให้กลไกซ่อมแซมตัวมันเองและ DNA ที่เสียหายแต่ละประเภท แต่กลไกไม่ได้ทำงานเห็นผลเสมอไปและบางคนมีกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อาจารย์ Patel ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “งานวิจัยของพวกเราไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความเสี่ยงต่อการสร้างความเสียหายใน DNA กับเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่งานยังให้ความสำคัญในเรื่องของการชำระล้างแอลกอฮอล์กับระบบการซ่อมแซม DNA ที่ไม่สมบูรณ์แบบและแอลกอฮอล์ยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิดด้วยกัน แม้แต่ระบบกลไกการป้องกันของผู้คนเองยังคงไม่พัฒนาไปไหน”

 

อาจารย์ Linda Bauld ได้กล่าวว่า “งานวิจัยนี้ทำให้พวกเราให้ความสนใจแอลกอฮฮล์ที่สร้างความเสียหายต่อเซลล์มากขึ้น ซึ่งเป็นค่าเสียหายสำหรับบางคนที่เป็นอะไรมากกว่าแฮงค์เครื่องดื่ม

 

“พวกเรารู้ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งจากแอลกอฮอล์กว่า 12000 เคสในประเทศอังกฤษทุก ๆ ปี จึงเป็นเรื่องดีที่คุณจะต้องงดดื่มของพวกนี้เสียบ้างก็ดี”

 

ผู้แปล : Mr.lawrence10

 

ที่มา : sciencedaily.com 

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ CJ BOOKS
เพิ่มความรู้ กระหายเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล
แอพขายหนังสือ หลากหลายหมวดหมู่ ที่คุณควรมีไว้ติดเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
081-702-9512
หนังสือยอดนิยม
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ออนไลน์
1
ทั้งหมด
97,514